29 มิ.ย. 2023 1 min read

เลือก Co-founder อย่างไรให้ปัง และไม่พังพินาศ

หลัก 6 ข้อและกระดาษ 6 แผ่น ที่จะช่วยให้เราเลือก co-founder ที่ถูกต้องเหมาะสมกับการเริ่มต้นธุรกิจ

เลือก Co-founder อย่างไรให้ปัง และไม่พังพินาศ

Co-founder

Credit : Tim Samsan Tech (Twitter @CJnDrama)

การเลือก co-founder หรือคนที่จะมาทำธุรกิจด้วยกันมีความสำคัญ ไม่แพ้เลือกคนมาแต่งงานด้วยเลย

เพราะคนคนนี้จะร่วมหัวจมท้าย เป็นได้ทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย

ถ้าเลือกได้ถูกคน ธุรกิจไม่ใช่แค่ไปรอด ไม่พังพินาศ

แต่อาจจะปัง ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย

รวบรวมไว้ จากประสบการณ์ทั้งของตัวเองและคนอื่น

1. เริ่มต้นที่ทัศนคติหลัก ต้องปรับจูนกันก่อน

  • นิสัย Co-founder ที่จะร่วมกัน ต้องคุยกันแบบตรงไปตรงมาได้ แบบไม่ต้องเกรงใจกัน โอเคหรือไม่โอเคตรงไหน พูดได้แบบไม่ต้องคิดมาก
  • ทั้งคู่ต้องมีนิสัยที่สนับสนุนให้แต่ละคนพูดคุยกันอย่างจริงใจ ตรงไปตรงมาด้วย นิสัยนี้จะสร้าง trust ระหว่างกันได้
  • เปิดใจถึงเป้าหมายในชีวิต เริ่มตั้งแต่ มาทำด้วยกันเพราะอะไร มองเห็นอะไรร่วมกันในสิ่งนี้ อนาคต 5 ปี อยากทำอะไร อยากเป็นยังไง เช่น บางคนอยากเรียนต่อ บางคนอยากแต่งงาน
  • เคยเจอมาแล้ว บริษัทแตก เพราะไปเรียนต่อกันทั้งทีมผู้ก่อตั้ง หรือ 2 ใน 3 แต่งงาน เหลือคนเดียว ทำงานไม่ไหว เรื่องพวกนี้ถ้ารู้กันก่อนล่วงหน้า จะได้มีแผนรับมือ
  • เปิดใจเรื่องภาระการเงิน มีหนี้สิน มีภาระอะไรบ้าง ตามที่สะดวกใจ มีวิธีจัดการยังไง
  • mindset การบริหารการเงินที่ดี จะช่วยลดปัญหาการเป็นหนี้หนักๆ ที่ทำให้ต้องรับทำงานนอกมากมายไปใช้หนี้ หลายครั้งก็กระทบกับงานหลักของ co-founder
  • Contribution หรือความทุ่มเท เป็นสิ่งสำคัญมากๆ บริษัทเริ่มต้นใหม่ ถ้า co-founder ไม่สามารถ commit การทำงานแบบ full time ได้ ก็อาจจะเกิดยากนิดนึง เพราะมันจะกลายเป็น second job company ของทุกคน

2. กรรมการห้ามมวย คนกลาง ผู้ใหญ่ที่เคารพ

  • ถ้าทะเลาะกัน ควรไปปรึกษา ขอความเห็น ขอตัวช่วยการตัดสินใจจากใคร ที่สามารถมองปัญหานี้แบบเป็นกลาง ไม่ bias ได้

3. เอกสารต้องทำให้ชัดเจน

เกี่ยงเรื่องงาน ทำไมอันนี้กูทำ ทำอันนั้นมึงไม่ทำ เป็นเรื่องที่ทะเลาะกันบ่อยสุด

อยากให้เริ่มต้นด้วยการนำกระดาษมานั่งเขียนเหมือนทำการบ้านด้วยกันตามนี้ครับ

  • กระดาษแผ่นที่ 1 : เขียนหน้าที่ ความรับผิดชอบ (Roles & Responsibilities) ของแต่ละคนลงไปให้ชัดๆ
  • กระดาษแผ่นที่ 2 : เขียนจุดอ่อน จุดแข็งของแต่ละคนลงไป เพื่อดูว่าเราสองคน มีดีอะไร และขาดอะไร เหมือน วิเคราะห์ SWOT ตัวเอง
  • กระดาษแผ่นที่ 3 : ให้เขียนค่าใช้จ่ายเริ่มต้นมีอะไรบ้างจะหารกันยังไง ต้องเคลียร์กันช่วงไหน
  • ตอนหารค่าใช้จ่าย มักไม่มีปัญหาเท่าการแบ่งรายได้ กำไร ควรตกลงกันให้ชัดเจนว่าส่วนแบ่งเท่าไหร่ ได้ตอนไหน ยังไง

4. ตกลงวิธีการทำงานร่วมกัน (Way of Works)

กระดาษแผ่นที่ 4

  • เขียน ways of work รูปแบบการทำงาน เช่น เจอหน้ากันอาทิตย์ละกี่วัน คุยออนไลน์กี่วัน คุยได้ช่วงเวลาไหน ตอบช้าตอบเร็ว เที่ยว ทำธุระ แจ้งกันยังไง
  • กำหนดนโยบาย รูปแบบการสื่อสารกัน การสื่อสารให้เข้าใจ สำคัญมาก ควรมีวิธีการคุยหลายๆรูปแบบ สำหรับแต่ละเรื่อง แต่ละสถานการณ์ เช่น การเริ่มต้นเกริ่น ขอความคิดเห็น ดูมุมมอง อาจเริ่มจากคุยกันร้านหมูกะทะ ชาบู แล้วพอจริงจังขึ้น ค่อยคุยร้านกาแฟ หรือสถานที่คุยจริงจังยาวๆ

Steve Jobs กับ Steve Wozniak สองผู้ร่วมก่อตั้ง Apple (Getty Images)

5. ตารางการตัดสินใจ (Decision-making Table)

  • การมีอำนาจตัดสินใจเท่ากัน เหมือนจะดี แต่เป็นเรื่องที่สร้างปัญหามากมาย บริษัทไหนมี CEO 2 คน มักจะมีปัญหา
  • แบ่งเรื่องที่ต้องตัดสินใจ ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญ อย่าให้คนมาตัดสินใจในเรื่องที่ตัวเองไม่ถนัด ไม่เชี่ยวชาญ เพราะจะทำงานให้งานช้า รอกันไปมา ใช้ความเล็กสร้างความได้เปรียบเรื่องความเร็ว

กระดาษแผ่นที่ 5

  • ให้ทำตารางการตัดสินใจ (Decision-making Table) แล้วเขียนกำหนดลงไปว่าเรื่องไหน ใครเคาะ
  • จะเป็นเพื่อนสนิท เป็นพี่น้อง เป็นแฟน เป็นสามีภรรยา ต้องปฏิบัติตาม ตารางการตัดสินใจนี้ แล้วทุกอย่างจะราบรื่นขึ้นเยอะ

6. การเลิกลา (Break-up)

กระดาษแผ่นที่ 6 สำคัญมาก

  • ถ้าเลิกกัน จะมีเงื่อนไงยังไงบ้าง ในการแบ่ง ทรัพย์สิน ความเป็นเจ้าของของสิ่งที่สร้างร่วมกันมา ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นระหว่างทำด้วยกัน
  • ถ้าเป็นหุ้น จะขายคืน ที่ราคาเท่าไหร่ ราคาพาร์หรือราคาตลาด และใครต้องประเมิณราคา
  • ถ้าตกลงกันไม่ได้ ต้องทำยังไง การห้ามออกไปทำแข่ง มีมั้ย หรือจะทำแบบเดียวกัน ต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง ทำแบบนี้ได้ ทำแบบนี้ไม่ได้ เขียนลงไปให้ชัดเจน

หลัก 6 ข้อและกระดาษ 6 แผ่นนี้ จะช่วยลดปัญหาจากการทำธุรกิจด้วยกัน และเพิ่มความสบายใจ ความเชื่อถือระหว่างกันให้มากขึ้นด้วย

ในช่วงการจดทะเบียนบริษัท ให้นำกระดาษทั้ง 6 แผ่น ส่งให้ทนายความช่วยแปลเป็นภาษากฏหมายและใช้เป็นเอกสารแนบ เราเรียกเอกสารนี้ว่า

“Shareholders’ Agreement”

เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด ซีรีส์ฮ่องกง เกี่ยวกับการทำธุรกิจร่วมกันของกลุ่มเพื่อนสนิท

อย่างไรก็ตาม เมื่อตัดสินใจเลือก co-founder ได้แล้ว ก็เหมือนตัดสินใจจะลองคบใครเป็นแฟน ก็จะมีช่วงคบหาดูใจ

ถ้าใช่ ก็ไปต่อ

แต่ถ้าไม่ใช่ แยกทางอย่างไรให้เจ็บน้อยสุด

Bill Gates และ Paul Allen สองผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft (Getty Images)

คบหาดูใจ

ก่อนตกลงปลงใจกับใคร ควรใช้เวลาศึกษากันและกัน

ควรลองตั้งโปรเจคต์ แล้วทำงานด้วยกันอย่างน้อย 3-6 เดือน

เพื่อดูเคมี ความเข้ากันได้ เหมือนทดลองอยู่กินกันก่อนแต่งงานจริง

ถ้าใช่ ก็ได้ไปต่อ ถ้าไม่ใช่ จะได้แยกย้าย เดินคนละทาง

การแยกทาง

  • การเลิกรา ย่อมทิ้งบาดแผล ความเจ็บปวด ความโกรธเคือง เรื่องดราม่าต่างๆไว้บ้าง มีน้อยคนที่จากกันด้วยดีได้
  • คุยกันแบบผู้ใหญ่ ให้เกียรติกัน ไม่เอาเรื่องที่มีปัญหาไปเล่าให้คนนอกฟัง ไม่ใส่ร้ายป้ายสีกันให้คนอื่นเข้าใจผิด
  • ความจริงมีอยู่ 2 อย่าง คือ ความจริงของมึง กับ ความจริงของกู เป็น bias ที่คนฟัง จะเข้าข้างคนเล่าเรื่องเสมอเพราะสนิทกว่า แม้ว่าเรื่องนั้นอาจจะไม่ใช่ความจริง และไม่ใช่เรื่องราวทั้งหมด
  • คนที่ professional และมี maturity จะขออนุญาตคนอื่นไม่เล่าเรื่องเหล่านี้ ให้มันจบกันไปที่เราเองดีกว่า
  • วิธีการดูคน ใครที่เม้าเยอะๆ ใส่ไฟคนอื่นเยอะๆ คือคนขาดความเป็น professional และไม่มีความเป็นผู้ใหญ่

ทั้งนี้ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้ไปคุยกับกรรมการห้ามมวย

สรุป กระดาษ 6 แผ่น

กระดาษ 6 แผ่นนี้ ทำขึ้นเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการร่วมกันทำธุรกิจ ในทุกแง่มุมที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้น และสามารถใช้เพื่อแปลงเป็น Shareholders’ Agreement ตอนจดจัดตั้งบริษัทได้ เพื่อความสบายใจของทุกคน

กระดาษแต่ละแผ่น มีเนื้อหาดังนี้

  1. เขียนหน้าที่ ความรับผิดชอบ (Roles & Responsibilities)
  2. จุดอ่อน จุดแข็งของ co-founder แต่ละคน (SWOT)
  3. ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการทำธุรกิจร่วมกัน
  4. รูปแบบการทำงาน (Way of Work) และวิธีการสื่อสารกัน
  5. ตารางการตัดสินใจ (Decision-making Table)
  6. การเลิกลาหรือแยกทางกัน

บทสรุป Co-founder ที่ดี

  • ต้องเป็น หยิน-หยาง ส่งเสริมกันและกันในสิ่งที่ไม่ถนัด
  • ถ้าเลือกคนแบบเดียวกันมาอยู่ด้วยกัน บริษัทอาจจะไปไหนได้ไม่ไกล เพราะเห็นตรงกันทุกเรื่อง มองทุกเรื่องแบบเดียวกัน ได้คนที่มีจุดอ่อนเรื่องเดียวกัน จุดแข็งเรื่องเดียวกันมา มักจะเกิดปัญหา Blindspot หรือจุดที่มองไม่เห็นอยู่บ่อยครั้ง
  • สุดท้าย เหมือนจะงมงาย แต่เป็นวิธีการที่เจ้าสัวและนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มักจะใช้กัน คือ การเช็คดวง อย่างน้อยที่สุด ว่าชงกันมั้ย เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสบายใจอย่างไม่น่าเชื่อครับ ถ้าทุกอย่างดีหมด แต่ดวงชงกัน อาจจะต้องมีอีกคนมาคั่นกลาง เพื่อลดแรงปะทะ อันนี้แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคลนะครับ
Great! You’ve successfully signed up.
Welcome back! You've successfully signed in.
You've successfully subscribed to Business Decode.
Your link has expired.
Success! Check your email for magic link to sign-in.
Success! Your billing info has been updated.
Your billing was not updated.